วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2558

ของดังประจำจังหวัดเพชรบุรี

ขนมหม้อแกง
ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นับว่าเป็นยุครุ่งเรืองที่สุดของราชอาณาจักรอยุธยา เพราะเป็นยุคที่ไม่มีศึก สงคราม อีกทั้งยังมีคณะทูต และบาทหลวงจากประเทศต่างๆ เข้ามาเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับอาณาจักรอยุธยาเป็นจำนวนมาก ในเวลานี้เองมีขุนนางผู้หนึ่งชื่อคอนสแตนติน ฟอลคอน ผู้ซึ่งเป็นคนฉลาด หลักแหลม และมีไหวพริวในด้านการค้ามากกว่าพ่อค้าใดๆทั้งหมด จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ดำรงตำแหน่ง พยุหเสนา และเป็นตัวกลางทางด้านการค้าของอาณาจักรอยุธยาและประเทศฝรั่งเศส ต่อมาได้แต่งงานกับนางมารี กีมาร์ หรือ ท้าวทองกีบม้า หลังจากที่พระเพทราชาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เนื่องจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีอาการประชวนหนัก พระเพทราชาจึงได้สั่งประหารชีวิตพระยาวิชาเยนทร์ในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2231 ทำให้ท้าวทองกีบม้าถูกนำตัวไปจำคุกเป็นระยะเวลาเกือบ 2 ปี จึงถูกปล่อยตัว แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องทำขนมหวานมาส่งในวังตามอัตราที่กำหนดไว้ ด้วยเหตุที่ว่าท้าวทองกีบม้ามีชื่อเสียงในด้านการทำอาหารคาวหวาน เหตุการณ์ในครั้งนี้นับว่าเป็นจุดเปลี่ยนโฉมหน้าของขนมไทยครั้งสำคัญ เพราะท้าวทองกีบม้าได้เริ่มทำขนมที่ใช้ไข่มาเป็นส่วนประกอบหลัก อาทิ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมผิง ขนมพล ขนมโปร่ง ขนมทองม้วน ขนมสัมปันนี และขนมหม้อแกง ด้วยรสชาติของไข่และน้ำตาลซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของขนมหม้อแกง ทำให้ขนมหม้อแกงได้รับความนิยมชมชอบจากชนชั้นสูงในวัง และได้รับการขนานนามว่า ขนมกุมภมาส
ต่อมาเมื่อลูกมือในบ้านของท้าวทองกีบม้าได้แต่งงาน ก็ได้นำสูตรและวิธีการทำขนมหม้อแกงออกมาถ่ายทอด ทำให้ชาวบ้าน คนธรรมดา ได้มีโอกาสรู้จักกับขนมหม้อแกง
เมื่อปีพ.ศ. 2529 จังหวัดเพชรบุรี ได้มีการบูรณะพระนครคีรีให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ทำให้ชาวบ้านในละแวกนั้นทำขนมหม้อแกงที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นออกมาจำหน่าย ทำให้ขนมหม้อแกงเป็นขนมที่ขึ้นชื่อของจังหวัดเพชรบุรี 
ขนมหม้อแกงสมัยก่อนจะทำกินกันเฉพาะในงานสำคัญ เช่น งานบวช หรืองานแต่งงาน ซึ่งขนมหม้อแกงนั้นจะถูกอบในเตาถ่านที่ใช้แผ่นสังกะสีมาคลุมบนถาดขนม แล้วใช้ถ่านหรือกาบมะพร้าวจุดไฟ แล้วเกลี่ยให้ทั่วสังกะสี ขนมหม้อแกงจะได้รับความร้อนทั้งด้านบน และด้านล่าง ทำให้หน้าของขนมหม้อแกงมีลักษณะเป็นสีน้ำตาลทอง ปัจจุบันมีการทำเผือก เม็ดบัว ถั่ว และหอมเจียว มาผสม และแต่งหน้าขนมหม้อแกง ทำให้ขนมหม้อแกงมีรสชาติที่กลมกล่อมมากขึ้น

ของดังประจำจังหวัดกาญจนบุรี

เค้กฝอยทอง



 วิเชียร เจนตระกูลโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศรีฟ้าโฟรเซนฟู้ด จำกัด เจ้าของเค้กฝอยทองชื่อดัง เริ่มเปิดร้านศรีฟ้าเบเกอรี่เมื่อปี พ.ศ. 2529 ที่ ต.ท่าเรือ อ.ท่าเรือ จ.กาญจนบุรี ด้วยเงินทุนเพียง 2 หมื่นบาท กับรถยนต์ 1 คันไว้ใช้ซื้อวัตถุดิบกับส่งของ โดยเป็นเพียงร้านห้องแถวเล็กๆ ทำกันเองในครัวเรือนกับลูกจ้าง 3-4 คน
       
       เบื้องต้นทำขนมปังและเค้กทั่วไป ยอดขายดีแค่ระดับหนึ่ง กระทั่งเกิดไอเดียอยากจะทำให้เบเกอรีเมืองกาญจน์ให้เป็นของฝากประจำท้องถิ่น เป็นที่มาของการหยิบขนมบ้านๆ อย่าง “ฝอยทอง” มาผสมกับ “เค้ก” กลายเป็นสินค้าใหม่ที่อร่อยลงตัว 
       
       “หลังเปิดร้านมาถึงปี 2540 เราได้ขยายธุรกิจเปิดร้านของฝากเพื่อจะขายเบเกอรีให้คนกรุงเทพฯ ที่มาเที่ยวกาญจนบุรี แต่ร้านของเราเป็นเบเกอรีบ้านนอกไม่รู้จะไปเอาอะไรมาโชว์ ผมเลยคิดหยิบสินค้าที่เรามีอยู่มาพัฒนา บังเอิญมีเค้กอยู่ตัวหนึ่ง ปกติจะปาดหน้าด้วยครีมหรือแยม ผมก็ลองประยุกต์เป็นหน้าฝอยทอง ตัดขายเป็นชิ้นๆ สี่เหลี่ยม จะด้วยความอร่อยหรือความโชคดีก็ไม่รู้ ลูกค้าเริ่มมากขึ้นเรื่อยๆ” วิเชียรเล่ากำเนิดเค้กฝอยทอง
       
       ด้วยเวลานั้นเค้กฝอยทองถือเป็นสินค้าแปลกใหม่ในตลาด การันตีอนุสิทธิบัตรสูตรและกระบวนการผลิตจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ช่วยให้โดดเด่นกลายเป็นสินค้าดังประจำจังหวัด ต่อเนื่องระดับภูมิภาค และระดับประเทศ เมื่อ“เซเว่นอีเลฟเว่น” (7-11) ชวนให้ทำส่งเข้าร้าน นับเป็นความท้าทายครั้งยิ่งใหญ่ที่ต้องพลิกธุรกิจจากครัวเรือนเป็นอุตสาหกรรมเต็มรูปแบบ

วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2558

ของดังประจำจังหวัดสระบุรี


กะหรี่ปั๊บ
Image result for กะหรี่ปั๊บ จังหวัดสระบุรี
        กะหรี่ปั๊บ เป็นขนมที่มีลักษณะโดดเด่นเฉพาะตัว นั่นก็คือ จะมีรูปทรงพับเป็นรูปคล้ายๆ "หอย" และจะสอดไส้ด้วยเครื่องปรุงนานาชนิด เช่น ไก่ ถั่ว เผือก เป็นต้น และกะหรี่ปั๊บก็เป็นอาหารที่ขึ้นชื่อมากในจังหวัดสระบุรี และที่โด่งดังก็จะอยู่ใน อำเภอ มวกเหล็ก เป็นของฝากที่นักท่องเที่ยวต่างก็ต้องซื้อติดไม้ ติดมื้อกัน รวมถึงของฝากอื่นอีกด้วย นั้นก็มี กะหรี่ปั๊บ เนื้อทุบและนุ่ม จนได้มีคำขวัญประจำ อำเภอ ว่า "เนื้อนุ่ม นมดี กะหรี่ดัง" นั่นเอง
         กะหรี่ปั๊ปมวกเหล็กขายกันมาเป็นเวลานานมาก แล้วสินค้าทีนี่ได้ถูกส่งไปขายต่อยังอำเภอใกล้เคียงรวมถึงจังหวัดใกล้เคียงอื่นๆอีกด้วยและขนมของแต่ละเจ้าได้รับประกันคุณภาพ  จากองค์การอาหาร
และยา (อ.ย.) โดยสาธารณะสุขของจังหวัด และกะหรี่ปั๊บเป็นสินค้าท้องถิ่นของชาว อำเภอมวกเหล็กไปแล้ว ทำให้มีชื่อเสียงและขึ้นชื่ในบรรดาของฝากจากจังหวัดสระบุรีเลยทีเดียวจึงทำให้นักท่องเที่ยวนั้นรู้จักเป็นย่างดี

ของดังประจำจังหวัดตรัง

เค้กตรัง

Image result for เค้กตรัง

นอกจากหมูย่างเมืองตรังที่ขึ้นชื่อแล้ว จังหวัดตรังยังมีของหวานอีกอย่างหนึ่งที่ขึ้นชื่อไม่แพ้กัน และของหวานที่ว่านั้นก็คือ “ขนมเค้กเมืองตรัง” หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า“เค้กมีรู”
       

       “เค้กมีรู” ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกที่ ต.ลำภูรา อ.ห้วยยอด จ.ตรัง ในสมัยก่อนเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า “เค้กขุกมิ่ง” ได้ชื่อมาจาก ขุกมิ่ง แซ่เฮง เจ้าตำรับขนมเค้กตรัง ที่ได้เดินทางมาตั้งรกรากอยู่ที่จังหวัดตรัง โดยขุกมิ่งได้คิดทำขนมเค้กของตนเองเพื่อกินคู่กับกาแฟ โดยพัฒนาสูตรมาจากร้านขนมในอำเภอทับเที่ยง และคิดค้น พัฒนาต่อจนกลายมาเป็นขนมเค้กเมืองตรัง
อร่อยกับขนมเค้กเมืองตรัง
       ขนมเค้กเมืองตรัง เป็นขนมที่ใช้วัตถุดิบในการทำเพียงไม่กี่อย่างเป็นส่วนผสม ได้แก่ แป้ง เนย น้ำตาล สีผสมอาหาร ผงฟู และไข่ไก่ โดยกรรมวิธีในการทำจะค่อยๆ นำส่วนผสมแต่ละอย่างมาตีให้เข้ากัน แล้วนำไปเทลงแบบพิมพ์เค้กที่มีรูตรงกลาง เพื่อเวลาอบเค้กจะได้สุกทั่วถึงกันในระยะเวลาที่พอดี พออบเสร็จก็จะได้ "ขนมเค้กเมืองตรัง" ที่มีเอกลักษณ์ตรงที่มีเป็นเค้กมีรู
      
       ปัจจุบันเค้กเมืองตรัง มีรสชาติให้เลือกมากมายกว่า 20 ชนิด ทั้ง รสกาแฟ ใบเตย เค้กมะพร้าว เค้กเผือก เค้กลิ้นจี่ เค้กสามรส เค้กนมสด ฯลฯ จึงทำให้เค้กเมืองตรังเป็นที่นิยม และกลายเป็นของฝากของผู้คนที่ผ่านไปผ่านมาในจังหวัดตรัง
      
       ซึ่งหากใครได้มีโอกาสมาเยือนจังหวัดตรัง นอกจากจะกินหมูย่างเมืองตรัง หรืออาหารเช้าอย่างติ่มซำแล้ว อย่าลืมหาซื้อ “เค้กเมืองตรัง” หรือ “เค้กมีรู” ติดไม้ติดมือไปเป็นของฝากกลับบ้านกันได้

วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558

ของดังประจำจังหวัดลำปาง

ถ้วยตราไก่



ชามไก่กำเนิดในเมืองจีนเมื่อกว่าร้อยปี ฝีมือชาวจีนแคะ ตำบลกอปีอำเภอไท้ปูมณฑลกวางตุ้ง แต่เดิมชามตราไก่ไม่ปรากฏการเขียนลายเป็นเพียงชามขาวธรรมดา เมื่อผลิตเสร็จได้จัดส่งมาเขียนลายเผาสีบนเคลือบ ที่ตำบลปังเคย แต้จิ๋ว หลังจากนั้นจึงกลายเป็นชามตราไก่สำเร็จรูปและส่งออกจำหน่ายในตลาดทั่วไป
ต่อมาราว ปี พ.ศ. 2480 ชาวจีนที่ทำชามตราไก่ในประเทศจีนได้ย้ายถิ่นมาจากเมืองจีนมาตั้งบ้านเรือนที่ กรุงเทพมหานครและ ลำปาง (ในการย้ายถิ่นมาครั้งนี้ได้นำช่าง ญาติพี่น้อง ชาวจีนที่มีความสามารถทางการปั้นเครื่องปั้นดินเผามาด้วย) พร้อมกันนี้ได้ก่อสร้างโรงงานและเตาเผาชามตราไก่ขึ้น ที่แถววงเวียนใหญ่ จังหวัดธนบุรี และที่ถนนเพชรบุรี กรุงเทพมหานคร
ในราวปี พ.ศ. 2500 ชาวจีนที่ทำโรงงาน และเตาเผาชามตราไก่ ได้ย้ายขึ้นมาตั้งโรงงานและเตาเผาใน จังหวัดลำปางทั้งนี้เนื่องจากที่จังหวัดลำปางมีดินขาวเหมาะที่จะนำมาทำการผลิตชามตราไก่มากที่สุดหลังจาก พบดินขาวที่อำเภอแจ้ห่ม ในปีเดียวกันชามไก่ใน จ.ลำปางเริ่มผลิตขึ้นโดยชาวไท้ปู4 คนคือนายซิมหยูนายเซี่ยะหยุยแซ่อื้อนายซิวกิมแซ่กว็อกและนายซือเมนแซ่เทนร่วมก่อตั้ง ” โรงงานร่วมสามัคคี ” ที่บ้านป่าขามอำเภอเมืองก่อนแยกตัวเปิดกิจการตนเองในอีก3 ปีถัดมา

ของดังประจำจังหวัดแพร่

ผ้าหม้อฮ่อม

 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ผ้าม่อฮ่อมจังหวัดแพร่
     หม้อฮ่อม เป็นคำในภาษาพื้นเมืองเหนือมาจากการรวมคำ 2 คำคือคำว่า “หม้อ” และคำว่า “ฮ่อม” เข้าไว้ด้วยกัน โดยหม้อเป็นภาชนะอย่างหนึ่งที่ใช้ในการบรรจุน้ำหรือของเหลวต่างๆ มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ส่วนฮ่อมนั้นเป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง ที่ชาวบ้านนำเอาลำต้นและใบมาหมักในน้ำตามกรรมวิธีที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ จะให้น้ำเป็นสีกรมท่า และได้สีที่จะนำมาใช้ในการย้อมผ้าขาว ให้เป็นสีกรมท่าที่เรียกกันว่า “ผ้าหม้อฮ่อม”
     ผ้าหม้อฮ่อม เป็นชื่อผ้าย้อมพื้นเมืองสีกรมท่าที่สร้างชื่อเสียงให้กับเมืองแพร่มานานแล้ว ในอดีตผ้าหม้อฮ่อมเป็นผ้าฝ้ายทอมือ ที่นำดอกฝ้ายขาวมาทำเป็นเส้นใยแล้วทอด้วยกี่พื้นเมืองเป็นผ้าพื้นสีขาว หลังจากนั้นจึงนำไปตัดเย็บให้เป็นเสื้อแบบต่าง ๆ กางเกงเตี่ยวสะตอ จากนั้นนำมาย้อมในน้ำฮ่อม ที่ได้จากการหมักต้นฮ่อมเอาไว้ในหม้อในปัจจุบันมีการทอผ้าด้วยกี่แบบพื้นเมืองน้อยลงทำให้ผ้าทอมีราคาแพง ในการตัดเย็บเสื้อผ้าหม้อฮ่อมจึงมีการใช้ผ้าดิบจากโรงงานตัดเย็บ ย้อมด้วยน้ำฮ่อมธรรมชาติหรือสีหม้อฮ่อมวิทยาศาสตร์
     ผ้าหม้อฮ่อมเป็นสิ่งหนึ่งที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของชาวเมืองแพร่ซึ่งจะเห็นได้จากชุดการแต่งกายพื้นเมืองของชาวแพร่จะนิยมสวมใส่เสื้อผ้าหม้อฮ่อมโดยการแต่งกายของชายนั้น นิยมสวมเสื้อหม้อฮ่อมคอกลม แขนสั้น ผ่าอกติดกระดุมหรือใช้สายมัด ลักษณะคล้ายเสื้อกุยเฮงของชาวจีน และกางเกงหม้อฮ่อมขาก้วย ใช้ผ้าขาวม้ามัดเอว
     ส่วนการแต่งกายพื้นเมืองของผู้หญิงเป็นเสื้อผ้าหม้อฮ่อมคอกลมแขนยาวทรงกระบอก ผ่าอกติดกระดุม และสวมผ้าถุงที่มีชื่อเรียกว่า “ซิ่นแหล้” ซึ่งเป็นพื้นสีดำมีแถบสีแดงคาดบริเวณใกล้เชิงผ้า ชาวพื้นเมืองต่าง ๆ ในภาคเหนือตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันนิยมใช้เสื้อผ้าหม้อฮ่อมที่มาจากแพร่ และถ้าพูดถึงหม้อฮ่อมแท้ต้องเป็นหม้อฮ่อมแพร่เท่านั้น ซื่อเสียงของผ้าหม้อฮ่อมเมืองแพร่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ทั้งนี้เนื่องจากมีคุณภาพ ความคงทนของเนื้อผ้าและสีหม้อฮ่อมที่ใช้ย้อมผ้า ตลอดจนรูปแบบเรียบง่ายสะดวกต่อการสวมใส่ได้ในหลายโอกาส

วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558

ของดังประจำจังหวัดนครสวรรค์


โมจิ

 



นครสวรรค์ถือว่าเป็นจังหวัดที่เรียกได้ว่าเป็นต้นตำรับของขนมโมจิเลย

ก็ว่าได้ เพราะนครสวรรค์เป็นจังหวัดแรกที่ได้ทำขนมโมจิ ซึ่งขนมโมจิ

ของนครสวรรค์นี้ ได้ดัดแปลงขนมโมจิดั้งเดิมของญี่ปุ่นซึ่งมีหลาก

หลายชนิดแตกต่างกันไปตามแต่ ละท้องถิ่น จนกลายเป็น "โมจิ" ก้อน

กลมหนานุ่มหลากหลายรสชาติ  ได้รับความนิยมจนกลายเป็นขนม

สัญลักษณ์ของจังหวัดนครสวรรค์ และด้วยที่จังหวัีดนครสวรรค์เป็น

จังหวัดผ่านระหว่างภาคเหนือและภาคกลาง ทำให้ขนมโมจิเป็นของ

ฝากที่ถูกใจผู้ให้ ประทับใจผู้รับมาตั้งแต่ พ.ศ.2525 และนอกจากนี้

เจ้าแรกของนครสววรค์ที่ทำขนมโมจิ คือ แม่กุหลาบ หรือที่รู้จักกันใน

ชื่อ ขนมโมจิแม่กุหลาบ อย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้วว่า เป็นผู้ผลิต

รายแรกที่ได้ดัดแปลงขนมโมจิดั้งเดิมของญี่ป่น มาทำเป็นสูตรของ

ตนเอง ซึ่งทำให้เกิดขนมโมจิแม่กุหลาบ สูตรต้นตำรับรายแรกของ

ประเทศไทย ซึ่งร้านโมจิแม่กุหลาบนี้